อ้างอิงจาก : หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
(การออกแบบและเทคโนโลยี) ของ สสวท. จุดประสงค์ของบทเรียน 3.1 การวางแผนการแก้ปัญหา
หลังจากที่ได้ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาแล้ว
ก่อนดำเนินการแก้ปัญหาหรือลงมือสร้างชิ้นงานตามที่ได้ออกแบบไว้ต้องมีกรวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นชั้นตอน
เพื่อลดระยะเวลาในการทำงานรวมไปถึงลดความผิดพลาดในการทำงานด้วย การวางแผนจะเริ่มจากการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานที่จะต้องปฏิบัติว่าประกอบด้วยงานย่อยอะไรบ้าง
จากนั้นเขียนเป็นกิจกรรมที่ต้องทำในแต่ละงาน พร้อมกับระบุระยะเวลาและผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่รับผิดชอบในกิจกรรมนั้น
ๆ (หากไม่สามารถระบุเวลาที่แน่นอนได้
สามารถประมาณการหรือกำหนดเป็นช่วงเวลาของการทำงานได้) การวางแผนการดำเนินงานสามารถทำได้หลายรูปแบบ
เช่น ผังงานแสดงลำดับขั้นตอน ตารางการปฏิบัติงาน 3.2
สิ่งที่ควรรู้ก่อนลงมือสร้างชิ้นงาน
การทำงานที่เกี่ยวกับสารเคมี ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมแว่นตาผ้าปิดจมูก และถุงมือยาง เพื่อป้องกันสารเคมีสัมผัสกับร่างกายทั้งการสัมผัส สูดดม และป้องกันสารเคมีกระเด็นเข้าตา ในการเชื่อมเหล็ก
ผู้ปฏิบัติงานจะต้องแต่งกายอย่างมิดชิดด้วยเสื้อผ้าที่หนา ใส่ถุงมือ
และหน้ากากป้องกันแสงที่เกิดจากการเชื่อมเหล็ก รูป 3.3 ชุดปฏิบัติการสำหรับงานเชื่อมเหล็ก ตารางสัญลักษณ์ของผังงาน (Flowchart) |