หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อินเทอร์เน็ตและการใช้งาน

1.ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

1.1 ความหมายของอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต (Internet : Interconnection Network) หมายถึง เครือข่ายของเครือข่าย ซึ่งคือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่โยงใยทั่วโลก สามารถสื่อสารกันได้ และรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆหลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร ภาพกราฟิก เป็นต้น

1.2 พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

1.2.1 อินเทอร์เน็ตในต่างประเทศ ปี ค.ศ.1969 หน่วยงานการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency : ARPA) ของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สนับสนุนงานวิจัยเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยช่วงแรกรู้จักกันในนามของเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูง หรืออาร์พาเน็ต(ARPANET)ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดอินเทอร์เน็ต

1.2.2 อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

ปี พ.ศ.2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(AIT) ได้เชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ของมหาลัยไปยังมหาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งส่งข้อมูลได้ช้าเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราว

ปี พ.ศ.2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ได้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์มหาลัย 5 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกิดเป็นเครือข่ายเรียกว่า เครือข่ายไทยสาร โดยสำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9,600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา

 ปี พ.ศ.2536 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) เช่าวงจรสื่อสาร 64 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำให้มีความสามารถส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมกับเครือข่ายไทยสารอีกหลายแห่ง เครือข่ายไทยสารจึงมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว

ปี พ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทยร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคล เรียกว่า ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต(Internet Service Provider : ISP)

2.การทำงานของอินเทอร์เน็ต

เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกันหรือใช้กฎและข้อ ตกลงเดียวกัน ซึ่งก็คือ โพรโทคอล (protocol) ในการควบคุมรูปแบบข้อมูลและการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โพโทคอลที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต เรียกว่าทรานมิสชันคอนโทรโพรโทคอล/อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol) หรือมีชื่อย่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP)

หมายเลขไอพี (IP Address)หมายถึง หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นหมายเลขชุดหนึ่งมีขนาด 32 บิต หมายเลขชุดนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน เช่น 205.42.117.104 โดยหมายเลขไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องไม่ซ้ำกัน

เนื่องจากหมายเลขไอพีจดจำได้ยาก จึงได้เกิดการตั้งชื่อที่เป็นตัวอักษรขึ้นมาแทนหมายเลขไอพี เพื่อช่วยในการจดจำเรียกว่า ดีเอ็นเอส (DNS: Domain Name Server) ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อ และโดเมน เช่น

โดเมนมีมาตรฐานใช้ร่วมกันสำหรับหน่วยงานและประเทศต่างๆ ดังนี้

2.1 โดเมนทั่วไป

จะบอกถึงประเภทขององค์กร หรือชื่อประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่

 

2.2 โดเมนระดับย่อย

3.การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต สิ่งที่จำเป็นในการเชื่อมต่อ มีดังนี้

1)  เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการส่งและรับข้อมูล

2) เว็บบราวเซอร์ เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดึงข้อมูลมาจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า HTML (Hyper Text Markup Language) และแปลความหมายของรูปแบบข้อมูลที่ได้กำหนดเอาไว้เพื่อนำเสนอแก่ผู้ใช้

3) หมายเลขโทรศัพท์และสายโทรศัพท์ สำหรับเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูลข่าวสาร โดยผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์เพียง 3 บาทต่อครั้งของการเชื่อมต่อ

4)  โมเด็ม เป็นอุปกรณ์สำหรับแปลงสัญญาณข้อมูลของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digital) ให้เป็นสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อก (analog) และเมื่อเป็นผู้ส่งจะแปลงสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อกให้เป็นดิจิทัล

5) บริการชุดอินเทอร์เน็ตจากผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เช่น ทีโอที กสท โทรคมนาคม ทีทีแอนด์ที 3BB เป็นต้น

การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์มีข้อดี คือ สะดวกและมีค่าใช้จ่ายต่ำ แต่ก็มีข้อจำกัดด้านความเร็วและการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอาจหลุดได้หากมีสัญญาณรบกวนภายในสายโทรศัพท์

4.การใช้บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต

4.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล (electronic mail หรือ e-mail)

ผู้ใช้งานสามรถรับส่งข้อความเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร กับบุคคลอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้น

รูปแบบของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ และชื่อเครื่องบริการ โดยใช้เครื่องหมาย @ (ออกเสียงว่า แอ็ท) คั่นระหว่างทั้งสองส่วนนี้ ตัวอย่าง เช่น

รูปแบบการใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน มีดังนี้

1)     เว็บเมล (Web Mail) เช่น www.hotmail.com, www.gmail.com เป็นต้น

2)      พ๊อปเมล (POP Mail) เช่น Microsoft Outlook. Windows Mail, Netscape Mail เป็นต้น

4.2 การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล

การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protocol: FTP) เป็นการโอนแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล มีการทำงาน 2 ลักษณะ คือ

       1. get เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องปลายทางมายังเครื่องต้นทาง (download)

       2. put เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทาง (upload)

หลักการทำงานของการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล

การบริการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล มี 2 ลักษณะ ได้แก่

            1. การโอนย้ายข้อมูลด้วยโปรแกรมโอนย้ายข้อมูล ทั้งที่เป็นแบบแจกฟรี (freeware) และแบบให้ทดลองใช้ก่อน (shareware) เช่น WS_FTP ,CuteFTP เป็นต้น

            2. โอนย้ายแฟ้มข้อมูลผ่าน Web Browser

4.3 การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น

       1) ยูสเน็ต (usenet) เป็น บริการในลักษณะกลุ่มสนทนาที่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายอิน เทอร์เน็ต โดยผู้ใช้ต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิก (subscribe) กลุ่มหัวข้อใดที่ตนเองสนใจ เช่น กลุ่มการเมือง กลุ่มเทคนิคด้านคอมพิวเตอร์ กลุ่มดนตรี กลุ่มศิลปะ กลุ่มกีฬา เป็นต้น ซึ่งหากผู้ใช้ไม่ต้องการอ่านข่าวสารในกลุ่มหัวข้อนั้นอีก ก็สามารถยกเลิกการเป็นสมาชิก (unsubscribe) ของกลุ่มหัวข้อนั้นได้

        2) บล็อก (blog) ย่อมาจากคำว่า เว็บบล็อก (webblog) เป็นเว็บไซต์ที่ใช้เขียนบนทึกเรื่องราว โดยเรียงลำดับตามเวลา บางครั้งอาจเรียกว่า ไดอารีออนไลน์ (diary online) เช่น Facebook, Wikipedia, YouTube, Twitter เป็นต้น

4.4 การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต

      1) การสนทนาเป็นกลุ่ม เป็นการสนทนาโดยคู่สนทนาจะพิมพ์ข้อความไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ จากนั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อความแสดงบนหน้าจอของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ร่วมสนทนา ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการนี้ เช่น www.sanook.com www.pantip.com เป็นต้น

 2)การสนทนาระหว่างผู้ใช้โดยตรง เป็นการสนทนาโดยมีเซิร์ฟเวอร์บอกตำแหน่งของโปรแกรมสนทนา (instant messaging) ของคู่สนทนา การสนทนาได้ทั้งการพิมพ์ข้อความ การส่งภาพกราฟิก เสียง และภาพเคลื่อนไหว โปรแกรมสนทนาที่นิยมใช้ใน ปัจจุบัน ได้แก่  Facebook Messenger, Line และ Skype เป็นต้น

4.5 บริการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต

เว็บไซต์ค้นหาข้อมูล (search site) ซึ่งเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลแบ่งเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการทำงาน ดั้งนี้

1) เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือหรือโปรแกรมการค้นหา (search engine) เป็นเว็บไซต์ที่สามารถให้ผู้ใช้หาข้อมูลโดยการระบุคำสำคัญ เพื่อค้นหาข้อมูล เช่น www.google.com, www.bing.com เป็นต้น

2) เว็บไซต์ที่มีการจัดข้อมูลตามหมวดหมู่ (web directories) เป็น เว็บไซต์ที่มีการรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต โดยแต่ละเว็ปไซต์จะถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่ที่เหมาะสม ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีการจัดข้อมูลตามหมวดหมู่ เช่น www.sanook.com , www.yahoo.com เป็นต้น

5.คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

5.1 ผลดี

      1) ทำให้มีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารในเครือข่ายขนาดใหญ่ กล่าวคือ ทำให้คนในสังคมติดต่อสื่อสารได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา

        2) ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน เช่น การติดต่อสื่อสารผ่านอีเมล การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย

    3) ช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทำให้เกิดการศึกษารูปแบบใหม่ที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนให้เกิดความสนุก ในการเรียนรู้ อีกทั้งทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ได้แก่ ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (e-learning)

      

5.2 ผลกระทบ

  1) ก่อให้เกิดความเครียดของคนในสังคม

 2) เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดค่านิยมที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นในสังคม เช่น การแต่งกายที่ไม่เหมาะสมของเยาวชน การติดเกมประเภทความรุนแรง เป็นต้น

   3) เกิดช่องว่างระหว่างคนในสังคม เนื่องจากคนในสังคมใช้เวลาในการเล่นอินเทอร์เน็ตมากขึ้น เช่น คนในครอบครัวที่ต่างคนต่างคุยกับเพื่อนในอินเทอร์เน็ต จึงมีเวลาพูดคุยกับคนในครอบครัวน้อยลง

  4) เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล เช่น การนำข้อมูลส่วนบุคคลออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นจริงหรือไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้อง การแสดงความคิดเห็นด้วยถ้วยคำที่รุนแรงต่อบุคคลผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

  5) อาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ผู้ไม่หวังดีอาจใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด เช่น การล่อลวงผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ตและก่อคดีล่วงละเมิดทางเพศ การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในแง่มุมต่างๆ ทั้งภาพลามกอนาจาร การพนันออนไลน์ การจำหน่ายของผิดกฎหมาย การส่งไวรัสไปทำลายข้อมูลของผู้อื่น เป็นต้น

6.มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต

      บัญญัติ 10 ประการ ซึ่งเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทของการ ปฏิบัติ ซึ่งผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ ดังนี้

      1) ต้องไม่ให้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น เช่น ไม่เผยแพร่ข้อความกล่าวหาบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหาย ไม่เผยแพร่รูปภาพลามกอนาจาร เป็นต้น

      2) ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น เช่น การเล่นเกมหรือเปิดเพลงด้วยคอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง

      3) ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต

      4) ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร

      5) ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ

      6) ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต

      7) ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์

      8) ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง

      9) ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน

     10) ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมีมารยาทของหน่วยงาน สถาบันหรือสังคมนั้นๆ