แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยที่ 4 ม.2

แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 4

เรื่อง หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.หน่วยเก็บข้อมูลสำรองในข้อใดที่เหมาะสมกับงานสำเนาข้อมูล (Backup)

       ก.ซีดีรอม                                  ข.ฮาร์ดดิสก์

       ค.แฟลชไดรฟ์                             ง.เทปแม่เหล็ก

2.หน่วยเก็บข้อมูลสำรองในข้อใดที่จำเป็นจะต้องใช้กระแสไฟฟ้าในปริมาณที่สูง

       ก.ซีดีรอม                                  ข.ฮาร์ดดิสก์

       ค.แฟลชไดรฟ์                             ง.เทปแม่เหล็ก

3.การนำเสนอข้อมูลด้วยกราฟเส้น (line graph) มีจุดเด่นอย่างไร

ก.ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ                      

ข.เปรียบเทียบข้อมูลได้ชัดเจน

ค.ทำให้เห็นสัดส่วนของข้อมูลได้ชัดเจน               

ง.เห็นแนวโน้มของข้อมูลได้ชัดเจนและสามารถพยากรณ์ข้อมูลในอนาคตได้

4. การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์มาใช้ในการทำงานขององค์กร มีข้อเสียอย่างไร

       ก. สูญเสียความลับของบริษัท

       ข. ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้น้อย           

       ค. การใช้งานไม่ครอบคลุมระบบของหน่วยงาน

       ง. เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อซอฟต์แวร์ประยุกต์สูง

 5. เหตุใดบริษัท หรือหน่วยงานจำเป็นต้องว่าจ้างบริษัทพัฒนาระบบ (outsourcing) มาพัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

       ก. บริษัท หรือหน่วยงานต้องการซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้ตรงความต้องการ และขาดผู้เชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรม

       ข. บริษัท หรือหน่วยงานต้องการซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้ตรงความต้องการ และต้องการรักษาความลับของบริษัท หรือหน่วยงานไว้         

        ค.บริษัท หรือหน่วยงานต้องการซอฟต์แวร์ที่มีบริการหลังการขาย และต้องการซอฟต์แวร์ที่ตอบสนองความต้องการสูง

       ง. บริษัท หรือหน่วยงานต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างบุคลากรดูแลระบบ และต้องการบริการหลังการขาย พร้อมคู่มือการใช้งานอย่างละเอียด

   6.สัญลักษณ์ดังรูปนี้มีความหมายตรงกับข้อใด

       ก. การนำข้อมูลเข้า                              ข.  ทิศทางการทำงาน

       ค. การตัดสินใจ หรือการเปรียบเทียบ       ง. จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของผังงาน

7. สัญลักษณ์ดังรูปนี้มีความหมายตรงกับข้อใด

       ก. การนำข้อมูลเข้า                        

       ข. การแสดงข้อมูลออกทางจอภาพ

       ค. การแสดงข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์    

       ง. การนำเข้าข้อมูลเข้าทางแป้นพิมพ์เครื่องมือ

  8. การตรวจสอบข้อผิดพลาดทางตรรกะ (logical error) มีวิธีการอย่างไร

       ก. ทดสอบโปรแกรมด้วยชุดข้อมูลที่สมมติขึ้นมาหลายๆ ครั้ง

       ข. ทดสอบโปรแกรมด้วยการสมมติสถานการณ์ต่างๆ ตามที่ใช้งานจริง

       ค. ทดสอบด้วยการว่าจ้างบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญมาตรวจสอบการใช้งานของโปรแกรม

       ง. ทดสอบโปรแกรมด้วยการเขียนโปแกรมที่มีชุดคำสั่งใกล้เคียงกันมาใช้งานคู่กันเพื่อเปรียบเทียบการทำงาน

9. ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้เขียนโปรแกรมข้อใด เหมาะสมกับงาน หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานคำนวณ

       ก. ภาษาซี (C)

       ข. ภาษาเบสิก (BASIC)

       ค. ภาษาปาสคาล (Pascal)

       ง.  ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN)

 10. หากนักเรียนต้องการฝึกเขียนโปรแกรม  ควรฝึกเขียนโปรแกรมใดจึงจะเหมาะสมกับการเริ่มต้นเขียนโปรแกรมครั้งแรก

       ก. ภาษาซี (C)

       ข. ภาษาเบสิก (BASIC)

       ค. ภาษาปาสคาล (Pascal)

       ง.  ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN)